การนอนหลับนั้นถือเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด แต่ด้วยสภาพสังคมปัจจุบันที่มีปัญหามากมาย เช่น โรคโควิด-19 ที่ไม่ใช่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
แต่ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจ ความเป็นอยู่ อาชีพการงาน เศรษฐกิจ จนทำให้เกิดคนความเครียด ทำให้คนมีอาการนอนไม่หลับ
ซึ่งภาวะการนอนไม่หลับอาจเกิดขึ้นชั่วคราวหรือพัฒนาไปเป็นนอนไม่หลับเรื้อรัง นับเป็นหนึ่งในโรคของคนไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ด้วยเหตุนี้หลายๆคนจึงหันไปพึ่งตัวช่วยอย่างยานอนหลับเพื่อที่จะได้พักผ่อนร่างกายในแต่ละคืน
.
การรักษาปัญหาการนอนไม่หลับส่วนใหญ่ แพทย์จะแนะนำให้เริ่มต้นด้วย วิธีไม่ใช้ยาก่อน โดยหาปัจจัยที่ทำให้นอนไม่หลับ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ปฏิบัติตามสุขอนามัยการนอนอย่างเหมาะสม และออกกำลังกาย เป็นต้น ส่วนการใช้ยานอนหลับนั้นเป็นเพียงตัวเลือกท้ายๆที่แพทย์จะแนะนำ
และเป็นตัวช่วยให้อาการทุเลาลงขณะใช้ยาเท่านั้น ไม่ได้รักษาอาการนอนไม่หลับให้หายขาด ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรพยายามแก้ไขที่ต้นเหตุมากกว่า
.
การใช้ยานอนหลับ มักจะใช้เพียงชั่วคราวในระยะเวลาสั้นๆ เนื่องจากการใช้ยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานนั้น จะทำให้ร่างกายมีการตอบสนองกับยาลดลง
จนอาจจะต้องเพิ่มขนาดยามากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้นอนหลับได้สนิท นอกจากนั้นอาจจะทำให้เกิดการติดยาด้วย เพราะหากผู้ป่วยหยุดยาเมื่อไหร่
ก็จะไม่สามารถนอนหลับ กระสับกระส่าย และกังวลทั้งคืน นอกจากนั้นการใช้ยานอนหลับในระยะยาว ยังส่งผลให้หน้าที่การทำงานของสมองเสื่อมถอยลง
อาจเกิดโรคสมองเสื่อมได้โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
.
แพทย์อาจแนะนำการใช้ยาแก้แพ้มาช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วย เช่น เช่น ยาแก้แพ้ในกลุ่ม antihistamine อย่าง diphenhydramine,
hydroxyzine, doxylamine เป็นต้น
แต่การใช้ยานอนหลับทุกประเภทนั้นจำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เนื่องจากการใช้ยาเกินขนาดจะออกฤทธิ์กดการทำงานของสมองที่ควบคุมการหายใจ
อาจทำให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลว เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ยาบางชนิดออกฤทธิ์ยาวหลังจากตื่นนอนแล้ว บางคนจะยังรู้สึกง่วงนอน อ่อนเพลีย หรือมึนงง ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น หากต้องขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักร
.
การใช้ยานอนหลับควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคตับ ไต และผู้สูงอายุ เพราะยาอาจสะสมในร่างกายได้มากขึ้น เกิดผลข้างเคียงได้มากกว่าปกติ และหลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับในหญิงตั้งครรภ์ หากผู้ป่วยมีการตั้งครรภ์จำเป็นต้องใช้ยาที่จัดอยู่ในยาประเภท pregnency category A
เช่น Doxylamine Succinate เป็น Sleep tab ที่ไม่มีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ แต่ก็ใช้ได้เพียงช่วงตั้งครรภ์ในระยะที่ 2 และ 3 เท่านั้น
.
นอกจากนั้นผู้ป่วยโรคปอด ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รวมถึงผู้ที่ใช้ยาออกฤทธิ์กดประสาท ส่วนผู้ที่ใช้ยานอนหลับ ไม่ควรใช้ยานอนหลับและควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด เนื่องจากแอลกอฮอล์จะไปเสริมฤทธิ์กันอาจกดการหายใจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
.
อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับอย่าเพิ่งใช้ยานอนหลับด้วยตัวเอง ให้ลองปฏิบัติดังนี้ก่อน
1. จัดเวลานอนและเวลาตื่นให้คงที่สม่ำเสมอ แม้ว่าบางครั้งง่วงนอนเวลากลางวัน อาจจะต้องอดทนเพื่อเข้านอนตอนหัวค่ำ ก็จะช่วยให้นอนหลับได้เหมือนปกติ
2. จัดสิ่งแวดล้อมในห้องนอนให้สบาย อุณหภูมิที่กำลังดี
3. งดกิจกรรมที่ตื่นเต้น ทำให้เครียด หรือวิตกกังวลก่อนที่จะเข้านอน
4. หากิจกรรมผ่อนคลายก่อนจะเข้านอน เช่น ฟังเพลงเบาๆ
5. ดื่มนมอุ่นๆ 1 แก้ว ก่อนจะเข้านอน งดอาหารมัน มื้อหนัก และคาเฟอีน
6. ทำสมาธิ ทำจิตใจให้สบาย สมองปลอดโปร่ง ก่อนนอน
7. ออกกำลังกายเพื่อให้หลับได้ง่ายขึ้น เช่น โยคะ
หากปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสมต่อไปนะคะ
.